วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ระวัง!..มันมากับความหนาว..บอลสเต็ป

ปีนี้ดูเหมือนว่าฤดูหนาวจะยาวนานกว่าหลายปีที่ผ่านมา และหนาวจัดอีกด้วย ซึ่งอากาศหนาวก็เหมือนดาบสองคมสำหรับเกษตรมีทั้งดีและให้ผลร้ายบอลสเต็ป





           ผลดีนั้นจะมีพืชผักบางชนิดให้ผลผลิตดีหากสภาพภูมิอากาศหนาว ไม่ว่าจะเป็นดอกกุหลาบ อโวคาโด รวมถึงลิ้นจี่ และอื่นๆอีกหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชเมืองหนาว แต่...อย่าลืมว่า บ้านเรานั้นเป็นเมืองร้อนฉะนั้นภาคการเกษตรของบ้านเรามักจะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์เมืองร้อน แต่พอเจออากาศหนาวจัดก็เลยทำให้การเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะพืชสวนครัวทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นผักบุ้งจีน กะเพรา ใบจะหงิกงอ เกษตรกรต้องระวังเป็นพิเศษบอลสเต็ป

           เช่นเดียวกับภาคประมงจะมีโรคแปลกๆ ที่มากับความหนาวเหน็บของอากาศ โดยเฉพาะปลา และกุ้งทั้งในธรรมชาติ และที่เกษตรกรเลี้ยงทั้งในกระชังและบ่อดิน ไม่เว้นแม้แต่ปลาตู้ที่เลี้ยงไว้เพื่อดูสวยงามครับ
บอลสเต็ป
           โรคระบาดที่เกิดขึ้นในฤดูหนาวเท่าที่พบเห็นกันเป็นประจำ มีอยู่หลายโรคนะครับ ไม่ว่าจะเป็น โรคจุดขาว พบได้ในปลาหลายชนิด ซึ่งปลาป่วยจะมีจุดสีขาวเหมือนผงเกลือป่นโรยบนตัวปลา และอีกโรคคือ อาการแผลเลือดออกตามผิวหนัง หรือครีบบางส่วน ซึ่งจะมีรอยจ้ำแดงๆ โรคพวกนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะสามารถตายยกบ่อได้เลยครับ นอกจากนี้ยังมีโรคอียูเอส หรือโรคแผลเน่าเปื่อย ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นทุกปีในต้นช่วงฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว

           ตรงนี้แหละ ที่ ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ออกมาเตือนและแนะนำเกษตรกรต้องเฝ้าระวังและเอาใจใส่สัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้พิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นนั้น เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมากสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอาชีพ เพราะหากโรคระบาดแล้วจะสร้างความเสียอย่างใหญ่หลวง เท่ากับเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรที่เพิ่งประสบปัญหาน้ำท่วมมาได้ไม่นานบอลสเต็ป

           วันนี้จะขอพูดเรื่องปลาก่อนครับ ซึ่ง ดร.วิมล แนะนำว่า ให้หมั่นสังเกตการกินอาหาร เพราะอุณหภูมิน้ำที่ลดลงจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวและการกินอาหารของสัตว์น้ำลดลงตามไปด้วย เกษตรกรจึงควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาหารเหลือและเกิดการเน่าเสียของอาหารที่ตกค้างและจะก่อให้เกิดน้ำเสีย ซึ่งจะส่งผลให้ปลาเครียดและเกิดโรคได้ง่าย





           กรณีที่เกษตรกรต้องการถ่ายน้ำ ไม่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณมากเนื่องจากอาจทำให้น้ำเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้ปลาเครียดและเกิดโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรงดการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำโดยไม่จำเป็น แต่กรณีที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายให้ใช้เกลือปริมาณ 100 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร (0.1%) เติมลงในน้ำที่ใช้ในการขนส่งปลา หลังจากการเคลื่อนย้ายปลาไปยังบ่อใหม่แล้ว ควรเติมเกลือ 1-5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (ตัน) (0.1-0.5%) ลงในบ่อ หมายถึงว่าให้นำเกลือละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ

           กรณีที่พบปลาป่วยในแหล่งน้ำธรรมชาติให้ปิดทางน้ำที่จะเข้ามาในฟาร์ม และงดการนำน้ำจากภายนอกเข้ามาในบ่อโดยเด็ดขาด หากพบปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือบ่อเลี้ยงป่วยและหรือตายด้วยโรคอียูเอส หรือโรคแผลเน่าเปื่อย ให้ทำลายโดยการฝังกลบ หรือเผาทันที และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมงครับบอลสเต็ป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น