วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

Empathy หัวใจที่ถูกมองข้าม..บอลสเต็ป

บอลสเต็ปปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นวิถีชิวิต สังคม สิ่งแวดล้อม ทำให้เราอดเป็นห่วงอนาคตของลูกหลานไม่ได้ว่าจะเป็นอยู่กันอย่างไร มีทักษะมากมายที่ต้องเรียนรู้และจำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ แต่เชื่อไหมครับ หนึ่งในทักษะที่สำคัญในศตวรรษนี้ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า empathy




              ผมยังจำวันแรกที่เดินเข้าไปสอบสัมภาษณ์เพื่อเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีพุทธภาษิตแกะสลักติดที่บานประตูว่า อตฺตานํ อุปมํ กเร ซึ่งดูเหมือนจะตรงกับคำว่า empathy แม้ว่าผมจะบอกความหมายในขณะสอบสัมภาษณ์ได้ แต่มาเข้าใจเมื่อได้ทำหน้าที่แพทย์จริงๆ ว่าไม่ใช่เพียงเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่เป็นการไปนั่งในหัวใจผู้อื่นว่าเขารู้สึกอย่างไร พูดง่ายๆ คือ ปฏิบัติต่อผู้ป่วยเช่นเดียวกับที่เราอยากให้แพทย์ปฏิบัติต่อเราหากต้องเป็นผู้ป่วยเสียเอง 
บอลสเต็ป
              empathy ที่ว่านี้มีทั้งทางอารมณ์ (emotional empathy) คือ รู้สึกได้เองว่าผู้อื่นรู้สึกหรือคิดอย่างไร เช่น เห็นคนอื่นโดนยุงกัดเราก็รู้สึกคันไปด้วย และทางปัญญา (cognitive empathy) คือ คิดได้ว่าผู้อื่นรู้สึกหรือคิดอย่างไร อันนี้ต้องอาศัยจิตสำนึกด้วย empathy จึงไม่เพียงทำให้เราอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจเพื่อสังคมที่สงบสุขเท่านั้น แต่การรู้ว่าผู้อื่นคิดอย่างไรยังนำไปสู่ความสำเร็จ เช่นที่เราเห็นตัวอย่างของสตีฟ จอบส์ ที่ไปนั่งในความคิดผู้บริโภคจนสามารถสร้างสรรค์นวตกรรมที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนทั่วโลกมาแล้ว มีผู้ถึงกับกล่าวว่า empathy เป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำในยุคปัจจุบันต้องมี แต่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่เหือดหายไปในสังคมปัจจุบัน 

              แล้วดนตรีไปเกี่ยวอะไรกับการเอาใจเขามาใส่ใจเรา...

เธอคันฉันเกา บอลสเต็ป
             วันหนึ่งผมเดินเข้าไปในห้องเก็บของที่มียุงชุมเต็มห้อง โดนยุงรุมกัดแขนขาหน้าตาจนอยู่ไม่ได้ ต้องเดินออกมาจากห้องเห็นตุ่มยุงขึ้นทั่วแขนขาจนคันไปทั้งตัว 

              อ่านมาถึงบรรทัดนี้เชื่อว่าผู้อ่านส่วนใหญ่จะรู้สึกคันไปด้วย เผลอๆ มีเกาประกอบ นี่เป็นตัวอย่างของ emotional empathy ที่เกิดขึ้นจากกลไกภายในสมองที่นำเรื่องราวที่รับรู้ไปกระตุ้นการทำงานเลียนแบบประสบการณ์ที่ได้รับรู้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีค้นพบโดยบังเอิญขณะกำลังศึกษาวิจัยการทำงานของสมองลิง แล้วเรียกส่วนของสมองนี้ว่า เซลกระจกเงา (mirror neuron) ที่ต่อมาก็ได้รับการยืนยันจากผลวิจัยในคนว่า สมองเราจะเลียนแบบประสบการณ์ที่รับรู้ และเกิดความรู้สึกนึกคิดเสมือนหนึ่งว่าเราประสบสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง ทั้งอารมณ์สุข เศร้า ตื่นเต้น น่ากลัว ขยะแขยง สังเกตดูสิครับเวลาคนข้างๆ หาวนอน เรามักจะหาวตามโดยไม่รู้ตัว ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานของสมองผ่านเซลกระจกเงา 

เลียนดนตรีบอลสเต็ป
              แน่ใจว่าไม่ได้เขียนผิด เพราะการเรียนไม่เฉพาะแต่ดนตรีนั้นเริ่มจากการเลียนแบบ เห็นได้จากการเรียนรู้ของเด็กที่สามารถเลียนแบบได้ทุกกระเบียดนิ้ว สังเกตว่าเด็กเลียนแบบสำเนียงภาษาได้ครบทุกเม็ดของอักขระที่ออกเสียง ตรงข้ามกับผู้ใหญ่เวลาเรียนภาษาที่สองจะละเลยรายละเอียดของสำเนียงภาษา แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะความเคยชินจากการใช้ภาษาแม่ก็ตาม

              สังเกตจากลูกสาวของผมเอง ที่เรียนรู้วิธีหยิบจับ เล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ โดยไม่ต้องสอนเป็นขั้นตอน แต่เห็นพ่อแม่เล่นแล้วเลียนแบบ ในขณะเดียวกันเวลาเล่นดนตรีด้วยกันยังต้องฟังแล้ว สร้างประสบการณ์เสมือนของจังหวะในสมองเพื่อให้เล่นไปพร้อมๆ กันได้ เกิดการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับสัญญาณประสาทที่รับเข้ามาผ่านการมองและการฟัง ซึ่งเป็นการกระตุ้นส่วนของสมองบริเวณที่ซ้อนทับกับส่วนเซลกระจกเงาได้อย่างลงตัว

              นอกจากนี้ ลิซ่า เอซิซ-ซาเด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเทอร์น แคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกาได้วิจัยพบว่าผู้ที่มีความสามารถในการพูดสื่อสาร หรือรับฟังภาษาด้วยท่วงทำนอง จังหวะแบบดนตรี(prosody) จะทำคะแนนจากแบบทดสอบempathyได้สูงกว่าผู้ที่พูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบ 

เด็กผู้รู้สึกโลก
              เวลาเดินไปกับเจ้าตัวเล็ก คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงคุ้นเคยกับภาพที่ลูกหยุดแล้วก้มลงไปดูมด เศษผง หรือของชิ้นจิ๋วแทบมองไม่เห็นที่ตกอยู่กับพื้น บ้างก็ถามพ่อแม่ บ้างก็หยิบมาดูด้วยความสนใจในสิ่งที่ไม่อยู่ในสายตาเรา

              วันก่อนตื่นนอนตอนเช้า ปลายฟ้า(ลูกสาววัยสองขวบกว่า)เดินจูงมือผมผ่านมุมหนังสือที่บ้านแล้วพูดด้วยความตื่นเต้นว่า “Daddy, it’s so beautiful!” (พ่อ, มันสวยมากเลย) ทั้งที่ผมก็ไม่เห็นมีอะไรต่างไปจากทุกวัน จนลูกชี้ให้ดูข้างบน เลยเห็นแสงแดดสะท้อนจากกระจกแผ่นเล็กๆ ฉายทาบบนเพดานเหมือนดาวบนท้องฟ้า นี่คือความงามใกล้ตัวที่เด็กสามารถรับรู้ได้แต่ผู้ใหญ่กลับมองข้าม และเป็นสิ่งที่เรียกว่า ”ประสบการณ์สุนทรียศาสตร์” 

              ผมสังเกตว่าสิ่งที่ลูกเรียนรู้ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากคำพูด คำสั่งสอนของเรา แต่เป็นการเลียนและเรียนจากประสบการณ์ที่มีร่วมกัน แม้กระทั่งเรื่องภาษาพูดก็เกิดจากการซึมซับในชีวิตประจำวันมากกว่าการตั้งใจสอนอย่างจริงจัง 

              ลูกสาวผมมักจะชอบนั่งร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่ บางทีก็จะหยิบอาหารบนโต๊ะกินเอง บางครั้งมีอาหารที่เผ็ดไม่เหมาะกับเด็ก ผมจะใช้วิธีดราม่าช่วย โดยตักอาหารจานที่เผ็ดใส่ปากแล้วทำท่าเผ็ดมาก พลางพัดมือที่ปาก และส่ายศีรษะบอกว่าเผ็ดเกินไปสำหรับเด็ก ลูกจะไม่มาแตะอาหารจานนี้เลย ซึ่งก็เป็นตัวอย่างว่าเด็กก็มี empathy แล้ว และเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในโลกจริงที่บิดเบี้ยว(imperfect world)บอลสเต็ป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น