วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทำยังไงดีเมื่อเด็กร้องอาละวาดไปแล้ว?..บอลสเต็ป

ทำยังไงดีเมื่อเด็กร้องอาละวาดไปแล้ว?บอลสเต็ป
             เบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก เช่น กิจกรรมใหม่ หนังสือ ของเล่น พยายามใช้คำพูดที่ละมุนละม่อม “ อุ้ย แม่ได้ยินใครกดกริ่งที่ประตูแน่ะ ” การทำหน้าตลกๆ หรือทำให้เป็นเรื่องขบขันก็อาจช่วยได้ บางครั้งควรบอกเด็กด้วยว่าให้ไปทำอะไรแทน
             ใจเย็น ถ้าพ่อแม่ก็โมโห จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง จำไว้ว่ายิ่งให้ความสนใจพฤติกรรมนี้มากเท่าไร มันก็จะยิ่งเกิดขึ้นบ่อยเท่านั้น
             การแสดงออกว่าโกรธที่ไม่รุนแรง เช่น ร้องไห้ กรีดร้อง เตะขา อาจเพิกเฉยได้ โดยยืนดูใกล้ๆหรือจับตัวเด็กไว้ โดยที่ไม่ต้องพูดอะไรจนกว่าเด็กจะสงบ ถ้าคุณคิดว่าตัวเองไม่สามารถระงับอารมณ์ได้ให้เดินออกมาจากห้องนั้นก่อน ลองรอประมาณ 1-2 นาที ก่อนจะเดินกลับเข้าไปหรือจนกว่าลูกจะหยุดร้อง จากนั้นพยายามช่วยให้เขาไปสนใจสิ่งอื่นแทน ถ้าเด็กโตพอที่จะเข้าใจก็ลองพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและวิธีแก้ไขในครั้งต่อไปบอลสเต็ป
             อย่างไรก็ตามการร้องอาละวาดที่ไม่สามารถเพิกเฉยได้ ได้แก่ ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น ทำร้ายข้าวของ กรีดร้องหรือตะโกนเป็นเวลานานมากๆ
             การใช้ Time-out หรือ การขอเวลานอก คือการนำเด็กออกจากสถานที่เกิดเหตุ พาไปที่ที่เขาจะควบคุมตัวเองได้ ใช้สำหรับเด็กที่โตพอจะเข้าใจเหตุผล โดยให้เวลานอก 1 นาทีต่ออายุเป็นปี เช่น อายุ 4 ปี ให้ทำนาน 4 นาที เป็นต้น
             ไม่ควรทำโทษเด็กขณะร้องอาละวาดเพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กเก็บความ คับข้องใจไว้และมีปัญหาทางอารมณ์ต่อไป ควรตอบสนองกับพฤติกรรมร้องอาละวาดอย่างสงบและเข้าใจให้มากที่สุด เมื่อเด็กโตขึ้นเขาก็จะเรียนรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเอง จำไว้ว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กที่จะทดสอบกฎของพ่อแม่ว่าจะเอาจริงหรือไม่
              พยายามอย่าใช้รางวัลเพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรม เพราะจะทำให้เด็กคิดว่าวิธีนี้ทำให้ตนเองได้ในสิ่งที่ต้องการ
             เราควรมีความเสมอต้นเสมอปลาย อย่าไปแสดงท่าทางลังเลกับคำสั่งของเราเอง เพราะจะยิ่งทำให้เด็กสับสนว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้บอลสเต็ป
             ก่อนจะตั้งกฎอะไร พ่อแม่ต้องมั่นใจด้วยว่าตนเองมีเวลาในแต่ละวันที่ได้สนุกสนานกับลูก และไม่ควรตั้งกฎไว้มากจนเกินไป ทุกคนในบ้านก็ต้องหนักแน่นกับกฎนั้น ปฏิบัติต่อเด็กให้เหมือนกัน

  เมื่อไรการร้องอาละวาดนั้นน่าเป็นห่วง?
            โดยทั่วไปเด็กจะ ลดการร้องอาละวาดลงเองเมื่อเข้าขวบปีที่ 4 โดยที่พฤติกรรมอื่นๆก็ดุสมวัยดี แต่ถ้าการร้องอาละวาดนั้นดูรุนแรงมากหรือเกิดขึ้นถี่เกินไปอาจเป็นสัญญาณ ต้นๆของภาวะปัญหาทางอารมณ์

  ปรึกษากุมารแพทย์เมื่อไรเพื่ออะไร?
            แนะนำว่า ควรปรึกษา เมื่อเด็กทำร้ายตนเองหรือคนอื่นขณะที่กำลังร้องอาละวาด หรือแย่ลงหลังอายุ 4 ปี เพื่อดูว่าเด็กมีปัญหาทางกายภาพหรือจิตใจแอบแฝงอยู่หรือไม่บอลสเต็ป
            การร้องอาละวาด เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่ปกติของเด็ก ไม่ง่ายนักที่จะจัดการ แต่การที่ผู้เลี้ยงดูให้ความรัก ความเข้าใจแก่เด็ก ก็จะสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปได้แน่นอน
บอลสเต็ป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น