นพ.อเล็ก ซ์ เหยา โซ-นัม ประธานสมาคมความปวดแห่งประเทศสิงคโปร์ ประธานสถาบันความปวดโลกประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่ปรึกษาด้านการจัดการกับความปวดของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศสิงคโปร์ ระบุในงานสัมมนาว่า...จากการสำรวจออนไลน์ ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม 1,220 คน ทั้งคนจีน คนไต้หวัน คนไทย พบว่า ประเภทความเจ็บปวดของ 3 กลุ่มนี้แตกต่างกัน โดยชาวจีน และไต้หวัน จะประสบกับอาการปวดหัวบ่อยๆ และไมเกรนมากที่สุด รองลงมาคือปวดหลัง ส่วนคนไทยจะมีอาการปวดหลังมากที่สุด รองลงมาคือ ปวดหัวบ่อยๆ และไมเกรน และคนไทยมีความอดทนในความเจ็บป่วยเรื้อรังน้อยที่สุด
ผลการสำรวจลักษณะการรักษาเมื่อเผชิญกับความเจ็บ ปวดเรื้อรัง ชี้ว่า กว่า 60% ของผู้ตอบคำถามชาวจีน ไต้หวัน และชาวไทยซื้อยากินเอง เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด โดยไม่ได้มีการปรึกษาหมอบอลสเต็ป
ในส่วนของความตระหนักถึงผลข้างเคียงของการใช้ยา คนส่วนมากรับทราบและรับรู้ว่ากลุ่มยาแก้ปวดมีผลข้างเคียงต่อไต แต่มีผู้ตอบคำถามเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่รู้ว่า กลุ่มยาแก้ปวดมีผลต่อการเป็นแผล เลือดออกในท้องและลำไส้ ทั้งนี้ นอกเหนือจากผลข้างเคียงต่อไตแล้ว ยาแก้ปวดยังมีผลข้างเคียงอีกหลายอย่าง อาทิ ผลข้างเคียงต่อตับ, อาการแพ้ต่างๆ, ระบบ ย่อยอาหาร, เวียนหัวและผื่นคัน
สำหรับวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก บ้างก็รักษาด้วยการซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ และซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป โดยการใช้การแพทย์ทางเลือก ก็เช่น การใช้ยาสมุนไพรต่างๆ รักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจให้เหตุผลว่า มีผลข้างเคียงน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม อาจมีความเข้าใจที่ผิดพลาดว่ายาทางเลือกมีความปลอดภัย 100% หรือกินแล้วไม่ติดบอลสเต็ป
บทบาทของหมอยังมีน้อยมาก ร้อยละ 27.3 ของผู้ตอบคำถามทั้ง 3 ประเทศ ไม่เคยไปหาหมอเลย ร้อยละ 47.9 เลิกหาหมอไปแล้ว และ 3 ใน 4 ของผู้ตอบคำถาม ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของหมอระหว่างการทำสำรวจ โดยมีจำนวน 3 ใน 5 ของผู้ตอบคำถาม ที่ยอมรับว่าเคยใช้ยาบางประเภท ส่วนสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยไม่ไปหาหมอ คือคิดว่าความเจ็บป่วยนั้นๆ สามารถบริหารจัดการได้เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ตอบคำถามชาวจีนร้อยละ 28.4 มีประสบการณ์จากผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่มยาแก้ปวด ขณะที่ร้อยละ 35 ของชาวจีนชาวไต้หวันและร้อยละ 12.4 ของคนไทย ไม่เคยรู้เลยว่าเคยมีอาการข้างเคียงจากยาแก้ปวดหรือไม่ ทั้งนี้ ความเจ็บปวดในช่องท้องและลำไส้เป็นผลข้างเคียงสามัญ ซึ่งพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเคยได้รับผลข้างเคียง ดังนั้น เป็นที่สรุปได้ว่ายังคงมีความเชื่อที่จำกัดเกี่ยวกับผลข้างเคียงในหมู่ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่การบรรเทาความเจ็บปวดที่ไม่ปลอดภัยเพียงลำพังและใช้ยาอื่นๆ ผสมรวมกันบอลสเต็ป
"นอกจากเจ็บปวดในช่องท้องและลำไส้ที่พบมากแล้ว ยังมีอาการผลข้างเคียงอื่นๆ อีกมาก อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน, หน้ามืด ปวดหัว, มึนงง, มีอาการแพ้ เช่น ผื่นคันต่างๆ และใจสั่น ในเมื่อกลุ่มยาแก้ปวดซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้กันเองอย่างแพร่หลาย มีผลข้างเคียง ดังนั้น วิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ไมเกรน ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ หรืออื่นๆ ควรปรึกษาหมอทุก 2-3 เดือน ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม จะเป็นวิธีที่ดีที่ปลอดภัยที่สุด"
นพ.อเล็กซ์ ระบุว่า ด้าน ศ.ฟรานซิส กา-เหลียง ชาน ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์บำบัด หัวหน้าหน่วยระบบทางเดินอาหารและตับ และรองคณบดีทางคลินิกแห่งมหาวิทยาลัยไชนีส ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฮ่องกง กล่าวในงานสัมมนาว่า การมีอาการเจ็บป่วยต่างๆ แล้วไม่ไปหาหมอ แต่ซื้อยากินเองเป็นสิ่งที่ผิดที่ถูกต้องคือต้องหาหมอ และติดตามผลทุก ๆ 2-3 เดือน ซึ่งยาประเภทกลุ่มแก้ปวดมีผลข้างเคียง บางคนก็เลือดออกในกระเพาะอาหารและยังมีผลต่อหัวใจ และระบบทางเดินอาหารอีกด้วย ดังนั้น เรื่องการปรึกษาแพทย์จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ทั้งนี้ ศ.นพ.โก๊ะ เคียน ลี หัวหน้าหน่วยระบบทางเดินอาหารและตับ และหัวหน้าฝ่ายการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร มหาวิทยาลัยการแพทย์มาลายา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานการสัมมนาครั้งนี้ ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมพร้อมทั้งชี้ว่า ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดด้วยตนเอง ถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ และทำให้สังคมโดยรวมเกิดการสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก
"ใช้ยาด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาหมอ" มีความ "เสี่ยง!!" คนไทยอย่าประมาท...อาจมีผลเสียร้ายแรงเกินคาด!บอลสเต็ป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น