วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

EU ต้นกำเนิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก..บอลสเต็ป

ผู้อ่านทุกท่านคงรู้จักประเทศกรีซในด้านการเป็นต้นแบบของกีฬาโอลิมปิก กรีซเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป และมีนักปรัชญาชื่อดังของโลกจำนวนมาก เช่น โสคราติส เพลโต อริสโตเติล เป็นต้น
บอลสเต็ป


กรีซเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union, EU) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ซึ่งการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้นหมายถึงประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศมีข้อตกลงความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดตลาดเดียว เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิกโดยรวม ซึ่งจะเป็นการยกเลิกพรมแดนทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน (ประชาชนในประเทศสมาชิกสามารถไปทำงานในประเทศใน EU ได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาติทำงาน) การเคลื่อนย้ายทุน การศึกษา (ค่าเรียนของนักเรียนในประเทศสมาชิก EU จะเท่ากับนักเรียนในประเทศ ทำให้มีนักเรียนในประเทศสมาชิก EU ไปเรียนที่อังกฤษกันมาก เพราะว่าค่าเรียนเท่ากับนักเรียนอังกฤษ) ที่น่าสนใจคือประเทศสมาชิกใน EU จะใช้สกุลเงินเดียวกันคือ EU นั่นหมายถึงสหภาพยุโรปจะเป็นเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ให้กับเงินสกุล EU นี้ บอลสเต็ป


จากข้างต้นแปลว่าประเทศสมาชิกใน EU ยังคงมีรัฐบาลเป็นของตนเอง และมีการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ได้เอง เว้นแต่จะสูญการควบคุมในด้านอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ที่ต้องมาจากสหภาพยุโรปเท่านั้น ว่ากันง่ายๆ คือรัฐบาลในประเทศสมาชิกจะเหลือเครื่องมือบริหารเศรษฐกิจเพียงเครื่องมือเดียวนั่นก็คือนโยบายการคลัง (ผ่านการเก็บภาษี และการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ) ส่วนนโยบายการเงิน (อัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ย) สหภาพยโรปจะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากเชื่อว่าการใช้สกุลเงินยูโรร่วมกันจะทำให้สกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินที่มาถ่วงดุลอำนาจของเงินเหรียญสหรัฐ
บอลสเต็ป







ซึ่งมีหลายคนแย้งว่าจะทำได้อย่างไร ในเมื่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลในประเทศสมาชิกไม่สามารถควบคุมได้ เวลาเกิดปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่จำเป็นต้องลดค่าเงิน หรือลดดอกเบี้ย รัฐบาลจะไม่มีกลไกในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าการมีเพียงนโยบายการคลังนั้นเพียงพอหรือไม่ แปลง่ายๆ คือ รัฐบาลทำได้เพียงแค่เพิ่มหรือลดภาษี กับเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ไม่สามาถลดค่าเงินเพื่อทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศถูกลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค่าได้ ซึ่งปัญหานี้สหภาพยุโรปโดยคณมนตรีคลังได้กำหนดเกณฑ์ไว้คือ ประเทศสมาชิกใหม่ EU จะเข้าร่วมยูโรโซนเมื่อใดนั้น มิได้มีการกำหนดกรอบเวลาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of European Union หรือที่เรียกว่า Maastricht Treaty) ได้กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกยูโรโซน (กล่าวคือ มาใช้เงินสกุลยูโร)บอลสเต็ป


เงื่อนไขที่สนธิสัญญาดังกล่าวกำหนดไว้ มีดังนี้
1) สามารถรักษาเสถียรภาพราคา (อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสมาชิกที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุด 3 ลำดับแรกไม่เกิน 1.5% )
2) มีระบบการคลังสาธารณะที่ยั่งยืน (ขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกิน 3% ของ GDP และหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ของ GDP)
3) มีการคงระดับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีเสถียรภาพ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ใกล้เคียงกัน


จะเห็นได้ว่าเกณฑ์ดังกล่าวได้ทำการสกรีนประเทศที่ไม่มีความพร้อมที่จะใช้เงินสกุลยูโรออกไป เพื่อเป็นการแน่ใจว่าการใช้เงินสกุลดังกล่าวร่วมกันจะไม่เกิดปัญหาในภายหลัง เนื่องจากประเทศที่จะใช้สกุลเงินยูโรนั้นมีลักษณะความพร้อมทางเศรษฐกิจ และนโยบายที่ใกล้เคียงกัน


นั่นคือสมมติฐานที่สหภาพยุโรปได้คิดไว้ แต่ชีวิตจริงไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับบอลสเต็ป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น